วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สารบัญข้อมูลใน blog นี้

1.หน้าที่ชาวพุทธ
ประกอบไปด้วย

1.หน้าที่หลักของชาวพุทธที่มีต่อพระศาสนา
2.กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ชาวพุทธ

3.การบรรพชา และอุปสมบท

4.การบวชเป็นแม่ชี ธรรมจาริณี หรือเนกขัมมนารี

5.การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และธรรมศึกษา
6.การปลูกฝังจิตสำนึกและการมีสวนร่วมในสังคมชาวพุทธ
7.การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในฐานะผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง ตามหลักทิศ 6

คลิกที่นี่เพื่อเข้าไปยังบทความ

2.การกราบพระรัตนตรัย คลิกที่นี่เพื่อเข้าไปยังบทความ

3.การไหว้ คลิกที่นี่เพื่อเข้าไปยังบทความ

4.การกราบ คลิกที่นี่เพื่อเข้าไปยังบทความ


6.การแสดงความเครพทั่วไป คลิกที่นี่เพื่อเข้าไปยังบทความ


8.ชาวพุทธตัวอย่าง คลิกที่นี่เพื่อเข้าไปยังบทความ

ชาวพุทธตัวอย่าง

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช




พระประวัติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททองกับพระอัครเทวี พระองค์เจ้าศิริราชกัลยา ทรงพระราชสมภพ ณ วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.. ๒๑๗๕ (จุลศักราช ๙๙๔) เมื่อยังทรงพระเยาว์มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้านรินทร์” ครั้นเจริญพระชันษาได้ ๑ เดือน สมเด็จพระราชบิดาตรัสให้มีการพระราชพิธีขึ้นพระอู่ก็มีเหตุมหัศจรรย์ คือในระหว่างพระราชพิธีนั้น ขณะที่พระราชกุมารบรรทมอยู่ในพระอู่ พระญาติวงศ์ฝ่ายในบังเอิญเห็นเป็น ๔ พระกรแล้วจึงกลับเป็นปรกติเป็น ๒ พระกร สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงตรัสให้เอานิมิตรนั้นเปลี่ยนพระนามเสียใหม่ว่า “พระนารายณ์ราชกุมาร”

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ขณะมีพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา เมื่อเวลาบ่าย ๒ โมง ของวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ ปีวอก อัฏศก จุลศักราช ๑๐๑๘ (ตรงกับวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๑๙๙)

กล่าวกันว่า ในรัชกาลของพระองค์ บ้านเมืองมีความเจริญในด้านศิลปวิทยาและการศึกษา ราษฎรเป็นสุขสมบูรณ์เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงมีปัญญาเฉลียวฉลาด บำรุงบ้านเมืองดี ทั้งทรงเป็นปราชญ์และกวี สิ่งสำคัญที่สุดคือการติดต่อกับต่างประเทศ

ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช การค้าขายกับต่างประเทศเจริญมาก จึงเกิดขัดใจกันกับพวกฮอลันดา ซึ่งกำลังมีอำนาจอยู่ พระองค์ทรงหวั่นเกรงภัยจะมาจากฝรั่ง จึงให้สร้างป้อมขึ้นที่เมืองธนบุรีและนนทบุรี และดัดแปลงเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่ง ฝ่ายพวกบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในกรุงศรีอยุธยา เห็นเป็นโอกาสดีก็เข้าอาสาช่วยในการก่อสร้าง และทูลไปยังพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสให้ส่งทูตมาฝากฝังพวกตน ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงยินดี ที่จะผูกไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ ซึ่งกำลังมีอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในยุโรป ฮอลันดากับอังกฤษมีความยำเกรงมาก ทั้งมีพระประสงค์จะให้ไทยได้รับความรู้จากฝรั่งเศสด้วย ตอนกลางของรัชสมัยของพระองค์ มีฝรั่งชาติกรีก ชื่อฟอลคอน เข้ามาทำราชการเป็นที่พอพระทัยมาก จนได้ตำแหน่งหน้าที่สำคัญและได้รับยศเป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ให้ประเทศไทยนานัปการ บ้านเมืองในสมัยของพระองค์ได้รับการยกย่องจากประวัติศาสตร์ว่า ฟุ้งเฟื่องด้วยนักปราชญ์ราชบัณฑิตเกริกก้องกำจายด้วยศิลปวรรณคดีและยิ่งไปกว่านั้นในความสัมพันธ์กับต่างประเทศนับเป็นครั้งแรกที่รุ่งเรืองจนเป็นที่เลื่องลือที่สุด

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชย์ เสด็จสวรรคต ณ วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 1050 ตรงกับวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 เป็นปีที่ 32 ในรัชกาล พระชันษาสิริรวมได้ 56 พรรษา



พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)


ภาพจาก : http://www.choterak.com/article/art_150720.jpg

ประวัติและผลงานโดยสังเขป

1. พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ชื่อเดิม นายเงื่อม พานิช (พ.ศ. 2499 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดตั้งสำนักสงฆ์ สวนโมกขพลาราม ที่อำเภอและจังหวัดเดียวกับบ้านเกิด

2. เป็นภิกษุที่ตั้งมั่นในการเผยแพร่หลักธรรมให้แก่พุทธศาสนิกชนอย่างเข้มแข็งตลอดชีวิตสมณเพศ ผลงานปรากฏทั้งในหนังสืองานเขียน และการบรรยายธรรม ฯลฯ

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. มีความตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่

2. มีจิตใจเสียสละ ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่เพื่อการเผยแผ่พระศาสนา

3. ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ชอบอ่านชอบค้นคว้า

4. มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา

พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)

ภาพจาก : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/d/df/Panyanata02.jpg

ประวัติและผลงานโดยสังเขป

1. พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ชื่อเดิม นายปั่น เสน่ห์เจริญ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2454 ที่อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

2. พระปัญญานันทภิกขุ ได้อุทิศตนให้กับงานเผยแพร่พระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง ท่านมีความสามารถในการเทศนาแสดงธรรม และได้เขียนหนังสือและบทความเกี่ยวกับธรรมะโดยใช้ภาษาธรรมอย่างง่าย ๆ

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. มีความขยันและรับผิดชอบต่อหน้าที่

2. รักการศึกษา ใฝ่การเรียนรู้

3. เป็นพระนักคิดนักพัฒนา เพื่อแก้ไขความคิดและความเชื่อที่ไม่ถูกต้องของชาวพุทธบางค

ดร.อัมเบดการ์ (Dr. Bhimji Ramji Ambedkar)


ดร.อัมเบดการ์ (Dr. Bhimji Ramji Ambedkar) เป็นชาวอินเดีย แต่เดิมนับถือศาสนาฮินดู มีชีวิตในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2434 2499 บิดาเป็นทหาร แต่เพราะเกิดในวรรณะศูทรที่ต่ำต้อยในสังคมอินเดียจึงถูกรังเกียจจากคนรอบข้าง เขาจบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา

ดร. อัมเบดการ์ ได้จัดตั้งองค์กรเพื่อยกฐานะและต่อสู้เพื่อความเสมอภาคของคนวรรณะศูทรและจัณฑาล เมื่อ พ.ศ. 2467 โดยใช้วิธีต่อสู้แบบ อหิงสา คือสงบและสันติ ตลอดจนต่อสู้ให้กับสตรีที่ถูกกดขี่และไม่ได้รับในความเสมอภาคเท่าเทียมกับชาย

ดร. อัมเบดการ์ ได้เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 2478 โดยให้เหตุผลว่าพระพุทธศาสนาไม่ขัดแย้งกับวิถีการดำเนินการชีวิตของชาวอินเดีย เป็นศาสนาแห่งความสะอาด ไม่แบ่งแยกในชั้นวรรณะของคน

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. เป็นคนรักความก้าวหน้า รักการศึกษาเล่าเรียน จบปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาต่าง ๆ เช่น กฎหมาย วรรณคดี และเศรษฐศาสตร์ ทั้งมหาวิทยาลัยในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

2. มีความอดทนและอดกลั้นเป็นเลิศ เพราะถูกกดขี่ข่มเหงจากคนวรรณะที่สูงกว่า

3. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ได้ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาโดยนำมาเผยแพร่ในหมู่คนวรรณะต่ำ และได้ก่อตั้งชุมชนชาวพุทธขึ้นในสังคมอินเดีย

4. มีจิตใจเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ เสียสละ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม คือ กล้าต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง หรือ ความยุติธรรมที่ได้รับ โดยวิธีสงบและสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง

การรับความเคารพ


เมื่อผู้น้อยมาทำความเคารพ ควรรับ ความเคารพด้วยการประนมมือหรือค้อมศีรษะรับตาม ควรแก่กรณี

ความรู้เพิ่มเติม !

สาเหตุเเละเหตุการณ์ที่คนต้องไหว้

1. ไหว้เพราะความเลื่อมใส

2. ไหว้เพราะความกลัว

3. ไหว้เพราะสำนึกผิด

4. ไหว้เพราะสำนึกคุณ หรือแสดงวัฒนธรรม

สรุป ผลของการไหว้แล้ว จะได้เป็น 3 ประการคือ

1.ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ

2.ได้รับความเมตตาจากผู้ถูกไหว้

3.ช่วยให้ผู้ถูกไหว้พัฒนาตนเอง

ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ นั้น ก็ด้วยผู้ไหว้สำนึกตนว่าได้ประกอบกรรมดี ประพฤติดีงาม ทำให้เกิดความสบายใจอิ่มเอมใจ ส่วนผู้ที่ ได้รับเมตตา นั้น ก็หมายถึงได้รับการตอบสนองด้วย ความรู้สึกที่ดีมีค่า ความเมตตาเป็นความรู้สึกทางคุณธรรมที่ให้ประโยชน์สุขโดยทางเดียว ไม่เจือด้วยทุกข์โทษแต่อย่างใดเลย เมื่อเราไหว้ท่าน ท่านก็เมตตาเราโดยการแสดงตอบแทน เช่น บาลีว่า ปูชโก ลภเต ปูชํ ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ วนฺ ทโก ปฏิวนฺ ทนํ ผู้ไหว้ก็ย่อมได้รับการไหว้ตอบ ตามกฏแห่งเหตุผล


ข้อควรระวังในการไหว้


ข้อสำคัญที่ควรคำนึงสังวรระวังก็มีว่า อย่าไหว้ อย่าแสดงการบูชา สักแต่ว่าเป็นพิธี เป็นกิริยาเฉพาะช่วงที่ทำพิธีเท่านั้น ควรจะให้การไหว้ออกจากน้ำใจอันแท้จริง ในหลักธรรมตามมงคลสูตร อนุโลมเข้ากับการไหว้ได้แก่ การยกย่องเทิดทูนคุณความดี เรียกว่า บูชา การตระหนักถึงความสำคัญของท่าน เรียกว่า คารวะ การระลึกถึงอุปการคุณของท่านเรียกว่า กตัญญู เหล่านี้ล้วนเป็นแต่แรงบันดาลให้มีการไหว้ทั้งนั้น


การรับไหว้


เมื่อมีผู้ทำความเคารพให้แก่เรา ควรรับไหว้ คือเคารพตอบเพื่อมิไห้เสียมารยาท หรือทำให้ผู้แสดงความเคารพต้องกระดากใจ หรือโกรธจนเป็นเหตุให้นึกไม่อยากจะเคารพต่อไปได้ วิธีรับไหว้ ยกมือทั้งสองประนมไว้ระดับอก แล้วยกขึ้นให้สูงมากหรือน้อยตามฐานะของผู้ไหว้ และของผู้รับไหว้

การแสดงความเคารพโดยทั่วไป

1.การแสดงความเคารพศพ จะต้องกราบพระพุทธ รูปเสียก่อนแล้วจึงไปทำความเคารพศพ ส่วน การจุดธูปหน้าศพนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของลูก หลานหรือศิษยานุศิษย์ หรือผู้เคารพนับถือ ที่ประสงค์จะบูชา

การเคารพศพพระ ถ้า เจ้าภาพจัดให้มีการจุดธูปให้จุด 3 ดอก ชายกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หญิงหมอบกราบแบบเบญจางค ประดิษฐ์ 3 ครั้ง

การเคารพศพคฤหัสถ์ ให้ทำ ความเคารพเช่นเดียวกับตอนที่ผู้ตายยังมี ชีวิตอยู่ ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสมาก กราบ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นศพของผู้ที่มี อาวุโสใกล้เคียงกันกับผู้ที่ไปทำความเคารพ ให้ไหว้ในระดับที่ 3 (ไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป) ส่วนการเคารพศพเด็กนั้นเพียงยืนสงบ หรือนั่งสำรวมครู่หนึ่ง

ในกรณีที่ศพได้รับพระราชทานเกียรติยศ ผู้เป็นประธานจุดธูป เทียนที่หน้าพระพุทธรูปและที่หน้าตู้พระ ธรรม แล้วไปจุดเครื่องทองน้อยที่หน้าศพเพื่อ แสดงว่าผู้วายชนม์บูชาพระธรรม แล้วจึงเคารพ ศพ ส่วนผู้ไปในงาน กราบพระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วจึงเคารพศพด้วยการกราบ หรือคำนับ

2. การเคารพอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ อนุสาวรีย์ บุคคลสำคัญอาจเป็นรูปปั้น ภาพถ่าย ภาพวาด หรือ สัญลักษณ์อื่นก็ได้ ให้แสดงความเคารพด้วยการคำนับ หรือกราบ หรือไหว้แล้วแต่กรณี


ในโอกาสพิเศษ หรือเป็นพิธีการ เช่น เมื่อครบรอบวันเกิด หรือ วันสำคัญที่เกี่ยวข้องอันเป็นพิธีการให้ใช้ พุ่มดอกไม้ ถ้าครบรอบวันตายหรือแสดงความระลึก ถึงอันเป็นพิธีการให้วางพวงมาลา ใน โอกาสอื่นๆ ที่ไม่เป็นพิธีการอาจแสดงความเคารพ โดยใช้หรือไม่ใช้เครื่องสักการะก็ได้

3. การแสดงความเคารพของผู้เป็นประธาน ณ ที่ บูชา เมื่อประธานในพิธีลุกจากที่นั่งเพื่อไป บูชาพระรัตนตรัย ผู้ร่วมพิธียืนขึ้น และเมื่อประธาน เริ่มจุดธูปเทียน ผู้ร่วมพิธีประนมมือเสมออก เมื่อประธานกราบผู้ร่วมพิธียกมือที่ประนมขึ้น ให้นิ้วชี้จรดหน้าผาก พร้อมทั้งก้มศีรษะเล็ก น้อย หากที่บูชามีธงชาติและพระบรมฉายา ลักษณ์ด้วย เมื่อประธานบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว ให้ยืน ขึ้นถอยหลัง 1 ก้าว ยืนตรง ค้อมศีรษะคารวะครั้ง เดียว ซึ่งถือว่าได้เคารพต่อธงชาติและพระ บรมฉายา-ลักษณ์ไปพร้อมกันแล้ว ให้ประธานปฏิบัติ เช่นเดียวกันนี้ทั้งชายและหญิงทั้งที่อยู่ ในและนอกเครื่องแบบ เมื่อจบพิธีแล้วประธาน ควรกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาอีกครั้ง หนึ่ง ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมยืนขึ้นด้วยอาการสำรวม แล้วจึงไหว้ลาพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี แต่ ในกรณีที่ยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ประธาน ทักทายสังสรรค์กับผู้เข้าร่วมประชุม หรือดื่มน้ำ ชา และประธานอยู่ร่วมกิจกรรมด้วย เมื่อประธานจะ กลับ ไม่จำเป็นต้องกราบพระรัตนตรัย

4. การแสดงความเคารพของผู้ที่แต่งเครื่องแบบ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันนั้น ๆ


ที่มา :http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89

การคำนับ


ในการคำนับ ให้ยืนตรง มือปล่อยไว้ข้างลำ ตัวค้อมศีรษะเล็กน้อย การคำนับนี้ส่วนมากเป็น การปฏิบัติของชาย แต่ให้ใช้ปฏิบัติได้ทั้งชาย และหญิงเมื่อแต่งเครื่องแบบและไม่ได้สวมหมวก

การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์

1. การ ถวายบังคม เป็นราชประเพณีถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ในงานพระราชพิธีสำคัญ ก่อนที่จะถวาย บังคมต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมคือ นั่งคุกเข่าปลาย เท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้าเช่นเดียวกันทั้งชาย และหญิง มือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสอง ข้าง ชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อย หญิงนั่งเข่า ชิด


การถวายบังคมแบ่งออกเป็น 3 จังหวะ ดังนี้

- จังหวะที่ 1 ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก

- จังหวะ ที่ 2 ยกมือที่ประนมขึ้น ให้ปลายนิ้วหัว แม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย


- จังหวะที่ 3 ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่ ในจังหวะที่ 1


ทำให้ครบ 3 ครั้ง โดย จบลงอย่างจังหวะที่ 1 แล้วจึงลดมือลง วางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง

การถวายบังคม ดังกล่าวนี้ หญิงมีโอกาสใช้น้อย จะใช้ใน กรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกัน ถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบกราบ

2. การหมอบกราบ ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลง มาถึงพระบรมวงศ์ ในโอกาสที่เข้าเฝ้า โดย นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้ ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าอยู่ด้านล่าง เพียงเข่าเดียว มือประสาน เมื่อจะกราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ ประนม เมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าอีกครั้ง หนึ่ง แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบตามเดิม

3. การถวายความเคารพแบบสากล ใช้กับ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์

ชาย ใช้วิธี การถวายคำนับ โดยค้อมตัวต่ำพอสมควร

หญิง ใช้วิธีการถวายความเคารพแบบย่อเข่า ( ถอนสายบัว) มี 2 แบบ คือ

แบบสากลนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางพระองค์ ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็ก น้อยตามถนัด พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง สายตาทอดลง ปล่อยแขนทั้งสองข้างแล้ว ยืนตรง

แบบพระราชนิยม ยืนตรง หัน หน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้าง หนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อยตามถนัด พร้อมกับย่อ ตัวลง ขณะที่วาดเท้า ให้ยกมือทั้งสอง ข้างขึ้นวางประสานกันบนขาหน้าเหนือเข่า ค้อม ตัวเล็กน้อยทอดสายตาลง เสร็จแล้วยืนขึ้นใน ลักษณะเดิม

การกราบ

การกราบ(อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วย วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะ ลงจรดพื้นหรือจรดมือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบน ตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อม ศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ การกราบมี 2 ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่

1. การกราบแบญ จางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การ ที่ให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี 3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ


ท่าเตรียมกราบ

  • ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง สองข้าง (ท่าเทพบุตร)
  • หญิง นั่งคุกเข่าปลาย เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)
  • จังหวะ ที่ 1 ( อัญชลี) ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
  • จังหวะที่ 2 (วันนา) ยกมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้า ผาก
  • จังหวะที่ 3 (อภิวาท) ทอดมือลง กราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้
  • ชาย ให้กางศอกทั้งสอง ข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่ โก่ง
  • หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็ก น้อย

ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยก มือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือ เร็วเกินไป

2. การกราบผู้ใหญ่ ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก

3. การกราบบุคคล และกราบศพ เป็นการกราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ และกราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ ดังนี้

1) หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ ให้ปลายนิ้วจรดจมูก หรือจรดหว่างคิ้วก็ได้ถ้าคนเสมอกันประนมมือเพียงระหว่างอก

2) นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบ

3) หมอบลงตามแบบหมอบ

4) มือทั้งสองกระพุ่มทอดลงกับพื้นไม่แบมือ

5) ก้มศีรษะลงจรดสันมือ กราบเพียงครั้งเดียว

6) เสร็จแล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปกติ

ศพพระสงฆ์จะกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งก็ได้ สำหรับนาคกราบลาบวช หรือจะกราบบิดามารดาตอนรับผ้าไตรใช้แบบเบญจางคประดิษฐ์ สามครั้ง

ที่มา :http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89

หมายเหตุ : เรื่องการคำนับจะนำเสนอในบทความถัดไป


การไหว้

การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน "การไหว้" เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า "สวัสดี" แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย "การขอบคุณ" และ "การขอโทษ" การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ไม่แยกปลายนิ้วออกจากกัน ยกมือขึ้นในระดับต่างๆ ตามฐานะของบุคคล เเละเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ต้องรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ

ลักษณะการเเสดงความเคารพด้วยการไหว้

การแสดงความเคารพมีหลาย ลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ การถวายบังคม เป็นต้น การที่จะ แสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่ จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูก ต้องและเหมาะสมการแสดงความเคารพแบ่งได้ดัง นี้คือ

การประนมมือ

การประนมมือ (อัญชลี) ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กาง ศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือ นี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟัง พระธรรมเทศนา และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น ที่เคารพนับถือ เป็นต้น

ไหว้

ไหว้ (วันทนา ) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล ดังนี้

- ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การ ไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่ สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลาย นิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก



ชาย ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น ไหว้

หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้


- ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระ คุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ อย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่าง คิ้ว

ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้

หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้


- ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส รวมทั้ง ผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือยกขึ้นให้ปลาย นิ้วจรดปลายจมูก



ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้

หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้

ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือใน เวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้ ปฏิบัติให้เรียบ ร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม

ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89

หมายเหตุ : เรื่องการกราบจะนำเสนอในบทความถัดไป


การกราบพระรัตนตรัย

พระรัตนตรัย หมายถึง แก้วสามประการอันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

พระพุทธ หมายถึง พระพุทธเจ้า

พระธรรม คือ หลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ และนำมาสั่งสอนให้ผู้คนทั้งหลายเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ
พระสงฆ์ คือสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติธรรมและดำรงไว้ซึ่งศาสนา และสอนพุทธศาสนิกชนให้รู้ดีชั่ว รู้บาปบุญคุณโทษ

ในการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย ชาวพุทธนิยมกราบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึงการที่ให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผากจรดพื้น การกราบมี ๓ จังหวะ และต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ

ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางไว้ที่หน้าขา (ท่าเทพบุตร)
หญิง
นั่งคุกเข่าปลายเท้าราบกับพื้น นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางหน้าขา (ท่าเทพธิดา)

ท่าเตรียมกราบ


ท่าที่ ๑ (อัญชลี) ประนมมือที่อก หักข้อมือ ขึ้นชิดอก ข้อศอกชิดลำตัว

ท่าที่ ๒ (วันทา) ยกมือขึ้นนิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ก้มศีรษะลงเล็กน้อย

ท่าที่ ๓ (อภิวาท) น้อมตัวลงการบถึงพื้น ศีรษะ (หน้าผาก) ศอก เข่า (รวม ๕ สิ่งจรดพื้น) ศีรษะอยู่ระหว่างฝ่ามือที่กราบ (ชาย ข้อศอกต่อเข่า หญิงข้อศอกคร่อมเข่า) ทั้งหญิงและชายไม่ยกก้นจากส้นเท้าและฝ่าเท้า

เมื่อกราบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งแล้ว ทั้งชายและหญิงให้ยกมือขึ้นประฌมไว้ มือซึ่งพนมที่อกยกมาจบที่ระหว่างหัวคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผม พร้อมก้มศีรษะลงรับมือเล็กน้อย


การกราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งมีความหมาย คือ
การกราบครั้งที่ ๑ กราบเพื่อระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า
การกราบครั้งที่ ๒ กราบเพื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า คือพระธรรม
การกราบครั้งที่ ๓ กราบพระสงฆ์ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

ที่มา : http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=travelgirl&jnId=28144

หน้าที่ชาวพุทธ

หน้าที่หลักของชาวพุทธที่มีต่อพระศาสนา

ชาวพุทธมีหน้าที่หลักต่อการจรรโลงพระศาสนา 4 ประการ ดังนี้

1. การศึกษาในหลักธรรม ประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา

2. การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน ประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา

3. การเผยแพร่พระศาสนา

4. การป้องกันรักษาพระศาสนา

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ชาวพุทธ

กิจกรรมที่พึงปฏิบัติตามหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี มีดังนี้

1. การบรรพชาและอุปสมบทในพระพุทธศาสนา

2. การบวชเป็นแม่ชี ธรรมจาริณี หรือเนกขัมมนารี

3. การศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์และธรรมศึกษา

4. การปลูกฝังจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในสังคมชาวพุทธ

5. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในฐานะผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองตามหลักทิศ 6

การบรรพชา และอุปสมบท

1. ประเภทของการบวช

(1) บรรพชา คือ บวชเณร ผู้บวชจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และถือศีล 10

(2) อุปสมบท คือ การบวชพระ ผู้บวชจะต้องมีอายุครบ 20 ปี และถือศีล 227 ข้อ

2. ประโยชน์ของการบรรพชาและอุปสมบท

(1) ประโยชน์ที่เกิดแก่ผู้บวช ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและคำสั่งสอนของภิกษุสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ในวัด ซึ่งจะช่วยขัดเกลาให้ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างเข้มแข็ง

(2) ประโยชน์ที่เกิดแก่บิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ เป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณทำให้ท่านเหล่านั้นมีความสุขทางใจ รู้สึกอิ่มบุญและปลื้มปิติที่ได้เห็นลูกหลานบวช

(3) ประโยชน์ต่อศาสนา ช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคง ในฐานะเป็นพุทธสาวกที่ดี

ขั้นตอนการทำพิธีบรรพชา

เมื่อผู้ขอบวชปลงผมเสร็จแล้ว จะปฏิบัติตามขั้นตอน 5 ขั้น ดังนี้

1. นำดอกไม้ธูปเทียนและเครื่องบริขาร เข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ (พระสงฆ์ที่จะทำหน้าที่บวชให้) ณ สถานที่ที่กำหนด (พระอุโบสถหรือศาลาการเปรียญ) นั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำบรรพชาเป็นภาษาบาลี

2. พระอุปัชฌาย์รับผ้ากาสาวพัสตร์มาตรวจ ให้โอวาท และคืนผ้าให้ผู้ขอบวช

3. ผู้ขอบวชออกไปครองผ้า

4. ผู้ขอบวชกลับไปหาพระอุปัชฌาย์อีกครั้ง กราบเบญจาคงประดิษฐ์ 3 หน กล่าวปฏิญาณตนรับ

5. การรับสิกขาบท 10 (รับศีล 10) เพื่อให้เป็นสามเณรที่สมบูรณ์

พิธีอุปสมบท

สาระสำคัญเกี่ยวกับพิธีอุปสมบท มีดังนี้

1. การอุปสมบท คือ การบวชเป็นพระภิกษุ ผู้บวชแล้วจะเรียกว่า อุปสัมบัน

2. คุณสมบัติของผู้ขออุปสมบท ได้แก่ ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ,ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเรียกว่า อาภัพบุคคล (คนที่มีเพศบกพร่อง และคนประพฤติผิดต่อพระพุทธศาสนา 7 จำพวก), ไม่เป็นคนที่ทำผิดต่อผู้ให้กำเนิดและต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาให้บวช เป็นต้น

3. พระภิกษุสงฆ์ต้องรักษาศีล 227 ข้อ

4. เครื่องอัฏฐบริขาร 8 อย่าง ได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง),จีวร (ผ้าห่มคลุม), สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า), ประคดเอว (ผ้าใช้รัดเอวแทนเข็มขัด) , บาตร,มีดโกน,เข็มเย็บผ้า และกระบอกกรองน้ำ (ธมกรก)

5. ของใช้อื่น ๆเช่น ย่าม ตาลปัตร ผ้าอาบน้ำฝน ฯลฯ

ขั้นตอนการทำพิธีอุปสมบท

ผู้จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

1. แจ้งความประสงค์ขอบวชต่อพระอุปัชฌาย์ (พระสงฆ์ที่ทำหน้าที่บวชให้) เพื่อกำหนดวันบวช

2. เตรียมท่องคำขออุปสมบท (คำขานนาค) โดยพระอุปัชฌาย์หรือพระคู่สวดจะนัดไปซ้อม

3. การลาบวช โดยนำดอกไม้ธูปเทียนแพใส่พานไปลาบวชญาติผู้ใหญ่

4. การทำพิธีทำขวัญนาค จะทำก่อนถึงวันอุปสมบท 1 วัน เพื่อสอนให้นาคสำนึกในบุญคุณของบิดามารดา ผู้ขอบวชจะนุ่งขาวห่มขาวและถือศีล

5. การแห่นาคไปวัด เมื่อถึงวันอุปสมบท จะมีขบวนแห่นำนาคไปยังพระอุโบสถและแห่เวียนขวา 3 รอบ ก่อนนาคจะเข้าโบสถ์จะต้องทำพิธี วันทาสีมา เพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่ประชุมสงฆ์ หลังจากนั้นนิยมโปรยเหรียญเงินเศษสตางค์ให้ผู้มาร่วมพิธี

6. พิธีการในพระอุโบสถ เริ่มต้นเมื่อจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นาครับมอบผ้าไตรจากบิดามารดาและก้มกราบ 1 ครั้ง และนำเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ และกราบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง

7. ผู้ขอบวชนั่งคุกเข่าอุ้มผ้าไตรประนมมือกล่าวคำขอบรรพชา (ต้องทำพิธีบรรพชาเป็นเณรก่อน)พระอุปัชฌาย์ให้โอวาท ต่อจากนั้นจะมอบผ้าไตรให้ผู้ขอบวชไปนุ่งครองห่ม

8. ผู้ขอบวชกล่าวคำขอไตรสรณคมน์ (ขอยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง) ขอสมาทานศีลเป็นสามเณรและรับบาตรจากพระอุปัชฌาย์

9. พระคู่สวดประกาศขอให้ที่ประชุมสงฆ์พิจารณารับผู้ขอบวชเป็นภิกษุ โดยพระคู่สวดทั้งสองจะเป็นผู้สอบถามถึงคุณสมบัติของผู้บวช เมื่อประกาศถามครบ 3 ครั้งไม่มีพระภิกษุรูปใดคัดค้าน เป็นอันว่าที่ประชุมคณะสงฆ์ยอมรับให้ผู้ขอบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์

10. พระสงฆ์ที่บวชใหม่ถวายเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ในพิธีทุกรูป ต่อจากนั้นให้ญาติพี่น้องถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์บวชใหม่ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี

การบวชเป็นแม่ชี ธรรมจาริณี หรือเนกขัมมนารี

อุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา เป็นหนึ่งในบรรดาพุทธบริษัททั้ง 4 จำแนกออกได้ 4 ลักษณะ ดังนี้

1. หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วไป ถือ ศีล 5

2. แม่ชี เป็นหญิงที่ออกบวชโดยโกนผม โกนคิ้ว นุ่งขาวห่มขาว และถือศีล 8

3. ธรรมจาริณี คือ หญิงที่ปฏิบัติธรรมในโอกาสต่าง ๆ ในระยะสั้น ๆ เพียงแต่นุ่งขาวห่มขาว(ไม่ต้องโกนผม) ถือศีล 5 หรือศีล 8 และปฏิบัติธรรมโดยมุ่งเน้นการฝึกเจริญสมาธิ

4. เนกขัมมนารี เหมือนกับธรรมจาริณี แต่จะต้องถือศีล 8 มีข้อปฏิบัติธรรมเคร่งครัด และมีช่วงเวลาในการปฏิบัติยาวนานกว่า

การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และธรรมศึกษา

1. การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดหรือพระสงฆ์ได้จัดให้แก่นักเรียนและเยาวชนผู้สนใจทั่วไป มีทั้งการเรียนธรรมในพระพุทธศาสนา ธรรมปฏิบัติ วัฒนธรรมประเพณี และวิชาการสามัญต่าง ๆ

2. การศึกษาธรรมศึกษา วัดหรือพระสงฆ์ได้จัดให้แก่เยาวชนและผู้สนใจทั่วไป โดยศึกษาเกี่ยวกับพระไตรปิฎก มีการสอบวัดผลตามหลักสูตร โดยแบ่งเป็นนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก

การปลูกฝังจิตสำนึกและการมีสวนร่วมในสังคมชาวพุทธ

การมีส่วนในสังคมชาวพุทธ หมายถึง การทำหน้าที่เป็นชาวพุทธที่ดีไม่นิ่งหรือดูดายหรืออยู่เฉย ๆ ควรมีส่วนร่วมปลูกฝังจิตสำนึก และค่านิยมในฐานะเป็นชาวพุทธที่ดีให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง ดังนี้

1. การศึกษาหาความรู้ ทั้งความรู้ทางโลกและทางธรรม เพื่อให้เป็นคนดีของสังคม

2. การปฏิบัติตนตามหลักธรรม ประเพณี และพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในโอกาสต่าง ๆ

3. การเผยแพร่พระพุทธศาสนา เช่น อธิบายให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ที่ยังไม่รู้ให้เข้าใจชัดเจน

4. การปกป้องพระศาสนา ป้องกันการกระทำที่ลบหลู่หรือนำพระศาสนาไปใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือธุรกิจอื่น ๆ และช่วยสอดส่องเป็นหูเป็นตาไปให้ใครมาทำลายศาสนสถานและศาสนสมบัติ ฯลฯ

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในฐานะผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง ตามหลักทิศ 6

หลักธรรมที่สอนให้เราปฏิบัติต่อบุคคลรอบด้าน พระพุทธเจ้าได้แบ่งบุคคลที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น 6 ด้าน เปรียบเสมือนทิศทั้ง 6 ประกอบด้วย
1. ทิศเบื้องหน้า หรือ ทิศตะวันออก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง บุตร และ บิดา มารดา
2. ทิศเบื้องขวา หรือ ทิศใต้ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ศิษย์ และ ครูบาอาจารย์
3. ทิศเบื้องหลัง หรือ ทิศตะวันตก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง สามี และ ภรรยา
4. ทิศเบื้องซ้าย หรือ ทิศเหนือ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง เพื่อน และ มิตรสหาย
5. ทิศเบื้องบน หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ฆราวาส และ สมณะ
6. ทิศเบื้องล่าง หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา

ที่มา : http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%205/teachings/tis6.htm

http://www.oknation.net/blog/Duplex/2008/05/26/entry-4

การแสดงตนเป็นพุทธมามะกะ

คนไทยผู้ยังมิได้บวชเป็นสามเณร หรือเป็นภิกษุมาก่อนนั้น ควรแสดงตนเป็นพุทธมามะกะ พุทธมามะกะ แปลว่า ผู้ที่นับถือ
พระพุทธเจ้าเป็นของตน คือ นับถือพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงไม่ ละไม่ทิ้งนั่นเอง แม้เคยบวชแล้ว เมื่อจะเดินทางไปอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน ก็ควรแสดงตนเป็น พุทธมา
มะกะ ก่อนจะไป เพราะนอกจากเป็นการประกาศย้ำความเป็นพุทธศาสนิกที่ดี เป็นระเบียบพิธีแล้ว ยังถือว่าสามารถป้องกันภยันตรายต่างๆ ให้บังเกิดความสวัสดิมงคลแก่ตนเองและครอบครัวอีกด้วยสถานที่ทำพิธี ควรเป็นอุโบสถ หรือวิหาร ถ้ามิใช่พระอุโบสถ สถานที่ทำพิธีควรมีพระพุทธรูป แจกันปักดอกไม้ เชิงเทียนกระถางธูป สายสิญจน์ ๑ กลุ่ม (สำหรับวงรอบพระพุทธรูปพระสงฆ์ถือและคล้องตัวผู้แสดง)บาตรน้ำมนต์มีน้ำเต็มเทียนน้ำมนต์ (หนัก ๖ สลึง ไส้ ๙ เส้น)๑ เล่ม ธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย

(เทียน ๒ ธูป ๕) พระสงฆ์คือ พระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปประชุมกันในสถานที่นั้น นั่งล้อมวง ผู้แสดงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
แล้วจุดเทียนน้ำมนต์ปักไว้ ที่ขอปากขอบบาตร ยกประเคนบาตรเสร็จแล้ว จึงอาราธนาศีล ๕ ด้วยตนเอง เมื่อรับไตรสรณคมน์และรับศีลเสร็จแล้ว ตอนจบศีล ให้ว่า
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (๓ หน) เสร็จแล้วกราบ ๓ หน
ต่อจากนั้น แสดงตนเป็นพุทธมามะกะ ต่อหน้าพระสงฆ์ว่า
พุทฺธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฺฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต ตลอดถึงพระนิพพาน
ธัมฺมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเจ้า เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต ตลอดถึงพระนิพพาน
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต ตลอดถึงพระนิพพาน
พุทธะมามะโกติ มัง สังโฆ ธาเรตุ
ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นพุทธะมามะกะผู้นับซึ่งพระพุทธเจ้าว่าเป็นของๆ ข้าพเจ้า
ธัมมมามะโกติ มัง สงฺโฆ ธาเรตุ
ขอพระสงฆ์จงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นธัมมามะกะ ผู้นับถือซึ่งพระธรรมเจ้าว่าเป็นของๆ ข้าพเจ้า
สังฆะมามะโกติ มัง สังโฆ ธาเรตุ
ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสังฆะมามากะผู้นับถือซึ่งพระสงฆ์เจ้าว่าเป็น ของ ๆ ข้าพเจ้า
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจฺจะชามิ

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพเจ้าขอสละอัตตภาพร่างกายนี้ แด่พระองค์ (ว่าบทนี้ทั้งคำแปล ๓ หน)
เสร็จแล้วกราบ ๓ หนจากนั้นอาราธนาพระปริตร ต่อไป พระสงฆ์เอาสายสิญจน์คล้องตัวผู้แสดงแล้วเจริญพระพุทธมนต์ จบแล้วหัวหน้า
พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ให้ผู้แสดงตนเป็นพุทธะมามะกะทุกคน พระสงฆ์ทั้งหมด สวด ชะยันโต ฯลฯ ต่อ
สัพพ พุทฺธา ฯลฯ รักขัง พันธามิ สัพพะโส ๓ หน
ผู้แสดงตนเป็นพุทธมามะกะ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม แล้วพระสงฆ์ทั้งนั้นสวด
อนุโมทนา ยะถา สัพพี ฯลฯ ภะวะตุ
ผู้แสดงตนเป็นพุทธมามามะกะ กรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธีผู้แสดงตนเป็นพุทธมามะกะทุกคน บริกรรมแผ่เมตตา ประมาณ ๑ นาทีและสวดแผ่เมตตาและลาพระสงฆ์ต่อไป

หมายเหตุ : ผู้แสดงควรแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าชุดขาว ตามสมัยนิยม ถ้าเป็นหญิง พระสงฆ์ไม่ต้องนั่งล้อมวง ถ้าจะคล้องสายสิญจน์ให้พัน
สายสิญจน์กับสิ่งอื่นคั่นเสียก่อน และพระสงฆ์องค์ประธาน ประพรมน้ำมนต์ให้ผู้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ

ที่มา :

http://province.m-culture.go.th/udonthani/clinicpiteekarn/puttamamaka.php