วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน้าที่ชาวพุทธ

หน้าที่หลักของชาวพุทธที่มีต่อพระศาสนา

ชาวพุทธมีหน้าที่หลักต่อการจรรโลงพระศาสนา 4 ประการ ดังนี้

1. การศึกษาในหลักธรรม ประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา

2. การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน ประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา

3. การเผยแพร่พระศาสนา

4. การป้องกันรักษาพระศาสนา

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ชาวพุทธ

กิจกรรมที่พึงปฏิบัติตามหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี มีดังนี้

1. การบรรพชาและอุปสมบทในพระพุทธศาสนา

2. การบวชเป็นแม่ชี ธรรมจาริณี หรือเนกขัมมนารี

3. การศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์และธรรมศึกษา

4. การปลูกฝังจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในสังคมชาวพุทธ

5. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในฐานะผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองตามหลักทิศ 6

การบรรพชา และอุปสมบท

1. ประเภทของการบวช

(1) บรรพชา คือ บวชเณร ผู้บวชจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และถือศีล 10

(2) อุปสมบท คือ การบวชพระ ผู้บวชจะต้องมีอายุครบ 20 ปี และถือศีล 227 ข้อ

2. ประโยชน์ของการบรรพชาและอุปสมบท

(1) ประโยชน์ที่เกิดแก่ผู้บวช ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและคำสั่งสอนของภิกษุสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ในวัด ซึ่งจะช่วยขัดเกลาให้ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างเข้มแข็ง

(2) ประโยชน์ที่เกิดแก่บิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ เป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณทำให้ท่านเหล่านั้นมีความสุขทางใจ รู้สึกอิ่มบุญและปลื้มปิติที่ได้เห็นลูกหลานบวช

(3) ประโยชน์ต่อศาสนา ช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคง ในฐานะเป็นพุทธสาวกที่ดี

ขั้นตอนการทำพิธีบรรพชา

เมื่อผู้ขอบวชปลงผมเสร็จแล้ว จะปฏิบัติตามขั้นตอน 5 ขั้น ดังนี้

1. นำดอกไม้ธูปเทียนและเครื่องบริขาร เข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ (พระสงฆ์ที่จะทำหน้าที่บวชให้) ณ สถานที่ที่กำหนด (พระอุโบสถหรือศาลาการเปรียญ) นั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำบรรพชาเป็นภาษาบาลี

2. พระอุปัชฌาย์รับผ้ากาสาวพัสตร์มาตรวจ ให้โอวาท และคืนผ้าให้ผู้ขอบวช

3. ผู้ขอบวชออกไปครองผ้า

4. ผู้ขอบวชกลับไปหาพระอุปัชฌาย์อีกครั้ง กราบเบญจาคงประดิษฐ์ 3 หน กล่าวปฏิญาณตนรับ

5. การรับสิกขาบท 10 (รับศีล 10) เพื่อให้เป็นสามเณรที่สมบูรณ์

พิธีอุปสมบท

สาระสำคัญเกี่ยวกับพิธีอุปสมบท มีดังนี้

1. การอุปสมบท คือ การบวชเป็นพระภิกษุ ผู้บวชแล้วจะเรียกว่า อุปสัมบัน

2. คุณสมบัติของผู้ขออุปสมบท ได้แก่ ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ,ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเรียกว่า อาภัพบุคคล (คนที่มีเพศบกพร่อง และคนประพฤติผิดต่อพระพุทธศาสนา 7 จำพวก), ไม่เป็นคนที่ทำผิดต่อผู้ให้กำเนิดและต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาให้บวช เป็นต้น

3. พระภิกษุสงฆ์ต้องรักษาศีล 227 ข้อ

4. เครื่องอัฏฐบริขาร 8 อย่าง ได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง),จีวร (ผ้าห่มคลุม), สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า), ประคดเอว (ผ้าใช้รัดเอวแทนเข็มขัด) , บาตร,มีดโกน,เข็มเย็บผ้า และกระบอกกรองน้ำ (ธมกรก)

5. ของใช้อื่น ๆเช่น ย่าม ตาลปัตร ผ้าอาบน้ำฝน ฯลฯ

ขั้นตอนการทำพิธีอุปสมบท

ผู้จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

1. แจ้งความประสงค์ขอบวชต่อพระอุปัชฌาย์ (พระสงฆ์ที่ทำหน้าที่บวชให้) เพื่อกำหนดวันบวช

2. เตรียมท่องคำขออุปสมบท (คำขานนาค) โดยพระอุปัชฌาย์หรือพระคู่สวดจะนัดไปซ้อม

3. การลาบวช โดยนำดอกไม้ธูปเทียนแพใส่พานไปลาบวชญาติผู้ใหญ่

4. การทำพิธีทำขวัญนาค จะทำก่อนถึงวันอุปสมบท 1 วัน เพื่อสอนให้นาคสำนึกในบุญคุณของบิดามารดา ผู้ขอบวชจะนุ่งขาวห่มขาวและถือศีล

5. การแห่นาคไปวัด เมื่อถึงวันอุปสมบท จะมีขบวนแห่นำนาคไปยังพระอุโบสถและแห่เวียนขวา 3 รอบ ก่อนนาคจะเข้าโบสถ์จะต้องทำพิธี วันทาสีมา เพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่ประชุมสงฆ์ หลังจากนั้นนิยมโปรยเหรียญเงินเศษสตางค์ให้ผู้มาร่วมพิธี

6. พิธีการในพระอุโบสถ เริ่มต้นเมื่อจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นาครับมอบผ้าไตรจากบิดามารดาและก้มกราบ 1 ครั้ง และนำเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ และกราบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง

7. ผู้ขอบวชนั่งคุกเข่าอุ้มผ้าไตรประนมมือกล่าวคำขอบรรพชา (ต้องทำพิธีบรรพชาเป็นเณรก่อน)พระอุปัชฌาย์ให้โอวาท ต่อจากนั้นจะมอบผ้าไตรให้ผู้ขอบวชไปนุ่งครองห่ม

8. ผู้ขอบวชกล่าวคำขอไตรสรณคมน์ (ขอยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง) ขอสมาทานศีลเป็นสามเณรและรับบาตรจากพระอุปัชฌาย์

9. พระคู่สวดประกาศขอให้ที่ประชุมสงฆ์พิจารณารับผู้ขอบวชเป็นภิกษุ โดยพระคู่สวดทั้งสองจะเป็นผู้สอบถามถึงคุณสมบัติของผู้บวช เมื่อประกาศถามครบ 3 ครั้งไม่มีพระภิกษุรูปใดคัดค้าน เป็นอันว่าที่ประชุมคณะสงฆ์ยอมรับให้ผู้ขอบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์

10. พระสงฆ์ที่บวชใหม่ถวายเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ในพิธีทุกรูป ต่อจากนั้นให้ญาติพี่น้องถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์บวชใหม่ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี

การบวชเป็นแม่ชี ธรรมจาริณี หรือเนกขัมมนารี

อุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา เป็นหนึ่งในบรรดาพุทธบริษัททั้ง 4 จำแนกออกได้ 4 ลักษณะ ดังนี้

1. หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วไป ถือ ศีล 5

2. แม่ชี เป็นหญิงที่ออกบวชโดยโกนผม โกนคิ้ว นุ่งขาวห่มขาว และถือศีล 8

3. ธรรมจาริณี คือ หญิงที่ปฏิบัติธรรมในโอกาสต่าง ๆ ในระยะสั้น ๆ เพียงแต่นุ่งขาวห่มขาว(ไม่ต้องโกนผม) ถือศีล 5 หรือศีล 8 และปฏิบัติธรรมโดยมุ่งเน้นการฝึกเจริญสมาธิ

4. เนกขัมมนารี เหมือนกับธรรมจาริณี แต่จะต้องถือศีล 8 มีข้อปฏิบัติธรรมเคร่งครัด และมีช่วงเวลาในการปฏิบัติยาวนานกว่า

การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และธรรมศึกษา

1. การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดหรือพระสงฆ์ได้จัดให้แก่นักเรียนและเยาวชนผู้สนใจทั่วไป มีทั้งการเรียนธรรมในพระพุทธศาสนา ธรรมปฏิบัติ วัฒนธรรมประเพณี และวิชาการสามัญต่าง ๆ

2. การศึกษาธรรมศึกษา วัดหรือพระสงฆ์ได้จัดให้แก่เยาวชนและผู้สนใจทั่วไป โดยศึกษาเกี่ยวกับพระไตรปิฎก มีการสอบวัดผลตามหลักสูตร โดยแบ่งเป็นนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก

การปลูกฝังจิตสำนึกและการมีสวนร่วมในสังคมชาวพุทธ

การมีส่วนในสังคมชาวพุทธ หมายถึง การทำหน้าที่เป็นชาวพุทธที่ดีไม่นิ่งหรือดูดายหรืออยู่เฉย ๆ ควรมีส่วนร่วมปลูกฝังจิตสำนึก และค่านิยมในฐานะเป็นชาวพุทธที่ดีให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง ดังนี้

1. การศึกษาหาความรู้ ทั้งความรู้ทางโลกและทางธรรม เพื่อให้เป็นคนดีของสังคม

2. การปฏิบัติตนตามหลักธรรม ประเพณี และพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในโอกาสต่าง ๆ

3. การเผยแพร่พระพุทธศาสนา เช่น อธิบายให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ที่ยังไม่รู้ให้เข้าใจชัดเจน

4. การปกป้องพระศาสนา ป้องกันการกระทำที่ลบหลู่หรือนำพระศาสนาไปใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือธุรกิจอื่น ๆ และช่วยสอดส่องเป็นหูเป็นตาไปให้ใครมาทำลายศาสนสถานและศาสนสมบัติ ฯลฯ

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในฐานะผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง ตามหลักทิศ 6

หลักธรรมที่สอนให้เราปฏิบัติต่อบุคคลรอบด้าน พระพุทธเจ้าได้แบ่งบุคคลที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น 6 ด้าน เปรียบเสมือนทิศทั้ง 6 ประกอบด้วย
1. ทิศเบื้องหน้า หรือ ทิศตะวันออก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง บุตร และ บิดา มารดา
2. ทิศเบื้องขวา หรือ ทิศใต้ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ศิษย์ และ ครูบาอาจารย์
3. ทิศเบื้องหลัง หรือ ทิศตะวันตก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง สามี และ ภรรยา
4. ทิศเบื้องซ้าย หรือ ทิศเหนือ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง เพื่อน และ มิตรสหาย
5. ทิศเบื้องบน หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ฆราวาส และ สมณะ
6. ทิศเบื้องล่าง หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา

ที่มา : http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%205/teachings/tis6.htm

http://www.oknation.net/blog/Duplex/2008/05/26/entry-4

การแสดงตนเป็นพุทธมามะกะ

คนไทยผู้ยังมิได้บวชเป็นสามเณร หรือเป็นภิกษุมาก่อนนั้น ควรแสดงตนเป็นพุทธมามะกะ พุทธมามะกะ แปลว่า ผู้ที่นับถือ
พระพุทธเจ้าเป็นของตน คือ นับถือพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงไม่ ละไม่ทิ้งนั่นเอง แม้เคยบวชแล้ว เมื่อจะเดินทางไปอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน ก็ควรแสดงตนเป็น พุทธมา
มะกะ ก่อนจะไป เพราะนอกจากเป็นการประกาศย้ำความเป็นพุทธศาสนิกที่ดี เป็นระเบียบพิธีแล้ว ยังถือว่าสามารถป้องกันภยันตรายต่างๆ ให้บังเกิดความสวัสดิมงคลแก่ตนเองและครอบครัวอีกด้วยสถานที่ทำพิธี ควรเป็นอุโบสถ หรือวิหาร ถ้ามิใช่พระอุโบสถ สถานที่ทำพิธีควรมีพระพุทธรูป แจกันปักดอกไม้ เชิงเทียนกระถางธูป สายสิญจน์ ๑ กลุ่ม (สำหรับวงรอบพระพุทธรูปพระสงฆ์ถือและคล้องตัวผู้แสดง)บาตรน้ำมนต์มีน้ำเต็มเทียนน้ำมนต์ (หนัก ๖ สลึง ไส้ ๙ เส้น)๑ เล่ม ธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย

(เทียน ๒ ธูป ๕) พระสงฆ์คือ พระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปประชุมกันในสถานที่นั้น นั่งล้อมวง ผู้แสดงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
แล้วจุดเทียนน้ำมนต์ปักไว้ ที่ขอปากขอบบาตร ยกประเคนบาตรเสร็จแล้ว จึงอาราธนาศีล ๕ ด้วยตนเอง เมื่อรับไตรสรณคมน์และรับศีลเสร็จแล้ว ตอนจบศีล ให้ว่า
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (๓ หน) เสร็จแล้วกราบ ๓ หน
ต่อจากนั้น แสดงตนเป็นพุทธมามะกะ ต่อหน้าพระสงฆ์ว่า
พุทฺธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฺฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต ตลอดถึงพระนิพพาน
ธัมฺมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเจ้า เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต ตลอดถึงพระนิพพาน
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต ตลอดถึงพระนิพพาน
พุทธะมามะโกติ มัง สังโฆ ธาเรตุ
ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นพุทธะมามะกะผู้นับซึ่งพระพุทธเจ้าว่าเป็นของๆ ข้าพเจ้า
ธัมมมามะโกติ มัง สงฺโฆ ธาเรตุ
ขอพระสงฆ์จงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นธัมมามะกะ ผู้นับถือซึ่งพระธรรมเจ้าว่าเป็นของๆ ข้าพเจ้า
สังฆะมามะโกติ มัง สังโฆ ธาเรตุ
ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสังฆะมามากะผู้นับถือซึ่งพระสงฆ์เจ้าว่าเป็น ของ ๆ ข้าพเจ้า
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจฺจะชามิ

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพเจ้าขอสละอัตตภาพร่างกายนี้ แด่พระองค์ (ว่าบทนี้ทั้งคำแปล ๓ หน)
เสร็จแล้วกราบ ๓ หนจากนั้นอาราธนาพระปริตร ต่อไป พระสงฆ์เอาสายสิญจน์คล้องตัวผู้แสดงแล้วเจริญพระพุทธมนต์ จบแล้วหัวหน้า
พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ให้ผู้แสดงตนเป็นพุทธะมามะกะทุกคน พระสงฆ์ทั้งหมด สวด ชะยันโต ฯลฯ ต่อ
สัพพ พุทฺธา ฯลฯ รักขัง พันธามิ สัพพะโส ๓ หน
ผู้แสดงตนเป็นพุทธมามะกะ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม แล้วพระสงฆ์ทั้งนั้นสวด
อนุโมทนา ยะถา สัพพี ฯลฯ ภะวะตุ
ผู้แสดงตนเป็นพุทธมามามะกะ กรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธีผู้แสดงตนเป็นพุทธมามะกะทุกคน บริกรรมแผ่เมตตา ประมาณ ๑ นาทีและสวดแผ่เมตตาและลาพระสงฆ์ต่อไป

หมายเหตุ : ผู้แสดงควรแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าชุดขาว ตามสมัยนิยม ถ้าเป็นหญิง พระสงฆ์ไม่ต้องนั่งล้อมวง ถ้าจะคล้องสายสิญจน์ให้พัน
สายสิญจน์กับสิ่งอื่นคั่นเสียก่อน และพระสงฆ์องค์ประธาน ประพรมน้ำมนต์ให้ผู้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ

ที่มา :

http://province.m-culture.go.th/udonthani/clinicpiteekarn/puttamamaka.php