วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การกราบพระรัตนตรัย

พระรัตนตรัย หมายถึง แก้วสามประการอันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

พระพุทธ หมายถึง พระพุทธเจ้า

พระธรรม คือ หลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ และนำมาสั่งสอนให้ผู้คนทั้งหลายเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ
พระสงฆ์ คือสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติธรรมและดำรงไว้ซึ่งศาสนา และสอนพุทธศาสนิกชนให้รู้ดีชั่ว รู้บาปบุญคุณโทษ

ในการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย ชาวพุทธนิยมกราบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึงการที่ให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผากจรดพื้น การกราบมี ๓ จังหวะ และต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ

ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางไว้ที่หน้าขา (ท่าเทพบุตร)
หญิง
นั่งคุกเข่าปลายเท้าราบกับพื้น นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางหน้าขา (ท่าเทพธิดา)

ท่าเตรียมกราบ


ท่าที่ ๑ (อัญชลี) ประนมมือที่อก หักข้อมือ ขึ้นชิดอก ข้อศอกชิดลำตัว

ท่าที่ ๒ (วันทา) ยกมือขึ้นนิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ก้มศีรษะลงเล็กน้อย

ท่าที่ ๓ (อภิวาท) น้อมตัวลงการบถึงพื้น ศีรษะ (หน้าผาก) ศอก เข่า (รวม ๕ สิ่งจรดพื้น) ศีรษะอยู่ระหว่างฝ่ามือที่กราบ (ชาย ข้อศอกต่อเข่า หญิงข้อศอกคร่อมเข่า) ทั้งหญิงและชายไม่ยกก้นจากส้นเท้าและฝ่าเท้า

เมื่อกราบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งแล้ว ทั้งชายและหญิงให้ยกมือขึ้นประฌมไว้ มือซึ่งพนมที่อกยกมาจบที่ระหว่างหัวคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผม พร้อมก้มศีรษะลงรับมือเล็กน้อย


การกราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งมีความหมาย คือ
การกราบครั้งที่ ๑ กราบเพื่อระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า
การกราบครั้งที่ ๒ กราบเพื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า คือพระธรรม
การกราบครั้งที่ ๓ กราบพระสงฆ์ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

ที่มา : http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=travelgirl&jnId=28144