วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชาวพุทธตัวอย่าง

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช




พระประวัติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททองกับพระอัครเทวี พระองค์เจ้าศิริราชกัลยา ทรงพระราชสมภพ ณ วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.. ๒๑๗๕ (จุลศักราช ๙๙๔) เมื่อยังทรงพระเยาว์มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้านรินทร์” ครั้นเจริญพระชันษาได้ ๑ เดือน สมเด็จพระราชบิดาตรัสให้มีการพระราชพิธีขึ้นพระอู่ก็มีเหตุมหัศจรรย์ คือในระหว่างพระราชพิธีนั้น ขณะที่พระราชกุมารบรรทมอยู่ในพระอู่ พระญาติวงศ์ฝ่ายในบังเอิญเห็นเป็น ๔ พระกรแล้วจึงกลับเป็นปรกติเป็น ๒ พระกร สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงตรัสให้เอานิมิตรนั้นเปลี่ยนพระนามเสียใหม่ว่า “พระนารายณ์ราชกุมาร”

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ขณะมีพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา เมื่อเวลาบ่าย ๒ โมง ของวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ ปีวอก อัฏศก จุลศักราช ๑๐๑๘ (ตรงกับวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๑๙๙)

กล่าวกันว่า ในรัชกาลของพระองค์ บ้านเมืองมีความเจริญในด้านศิลปวิทยาและการศึกษา ราษฎรเป็นสุขสมบูรณ์เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงมีปัญญาเฉลียวฉลาด บำรุงบ้านเมืองดี ทั้งทรงเป็นปราชญ์และกวี สิ่งสำคัญที่สุดคือการติดต่อกับต่างประเทศ

ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช การค้าขายกับต่างประเทศเจริญมาก จึงเกิดขัดใจกันกับพวกฮอลันดา ซึ่งกำลังมีอำนาจอยู่ พระองค์ทรงหวั่นเกรงภัยจะมาจากฝรั่ง จึงให้สร้างป้อมขึ้นที่เมืองธนบุรีและนนทบุรี และดัดแปลงเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่ง ฝ่ายพวกบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในกรุงศรีอยุธยา เห็นเป็นโอกาสดีก็เข้าอาสาช่วยในการก่อสร้าง และทูลไปยังพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสให้ส่งทูตมาฝากฝังพวกตน ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงยินดี ที่จะผูกไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ ซึ่งกำลังมีอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในยุโรป ฮอลันดากับอังกฤษมีความยำเกรงมาก ทั้งมีพระประสงค์จะให้ไทยได้รับความรู้จากฝรั่งเศสด้วย ตอนกลางของรัชสมัยของพระองค์ มีฝรั่งชาติกรีก ชื่อฟอลคอน เข้ามาทำราชการเป็นที่พอพระทัยมาก จนได้ตำแหน่งหน้าที่สำคัญและได้รับยศเป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ให้ประเทศไทยนานัปการ บ้านเมืองในสมัยของพระองค์ได้รับการยกย่องจากประวัติศาสตร์ว่า ฟุ้งเฟื่องด้วยนักปราชญ์ราชบัณฑิตเกริกก้องกำจายด้วยศิลปวรรณคดีและยิ่งไปกว่านั้นในความสัมพันธ์กับต่างประเทศนับเป็นครั้งแรกที่รุ่งเรืองจนเป็นที่เลื่องลือที่สุด

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชย์ เสด็จสวรรคต ณ วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 1050 ตรงกับวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 เป็นปีที่ 32 ในรัชกาล พระชันษาสิริรวมได้ 56 พรรษา



พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)


ภาพจาก : http://www.choterak.com/article/art_150720.jpg

ประวัติและผลงานโดยสังเขป

1. พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ชื่อเดิม นายเงื่อม พานิช (พ.ศ. 2499 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดตั้งสำนักสงฆ์ สวนโมกขพลาราม ที่อำเภอและจังหวัดเดียวกับบ้านเกิด

2. เป็นภิกษุที่ตั้งมั่นในการเผยแพร่หลักธรรมให้แก่พุทธศาสนิกชนอย่างเข้มแข็งตลอดชีวิตสมณเพศ ผลงานปรากฏทั้งในหนังสืองานเขียน และการบรรยายธรรม ฯลฯ

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. มีความตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่

2. มีจิตใจเสียสละ ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่เพื่อการเผยแผ่พระศาสนา

3. ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ชอบอ่านชอบค้นคว้า

4. มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา

พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)

ภาพจาก : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/d/df/Panyanata02.jpg

ประวัติและผลงานโดยสังเขป

1. พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ชื่อเดิม นายปั่น เสน่ห์เจริญ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2454 ที่อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

2. พระปัญญานันทภิกขุ ได้อุทิศตนให้กับงานเผยแพร่พระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง ท่านมีความสามารถในการเทศนาแสดงธรรม และได้เขียนหนังสือและบทความเกี่ยวกับธรรมะโดยใช้ภาษาธรรมอย่างง่าย ๆ

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. มีความขยันและรับผิดชอบต่อหน้าที่

2. รักการศึกษา ใฝ่การเรียนรู้

3. เป็นพระนักคิดนักพัฒนา เพื่อแก้ไขความคิดและความเชื่อที่ไม่ถูกต้องของชาวพุทธบางค

ดร.อัมเบดการ์ (Dr. Bhimji Ramji Ambedkar)


ดร.อัมเบดการ์ (Dr. Bhimji Ramji Ambedkar) เป็นชาวอินเดีย แต่เดิมนับถือศาสนาฮินดู มีชีวิตในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2434 2499 บิดาเป็นทหาร แต่เพราะเกิดในวรรณะศูทรที่ต่ำต้อยในสังคมอินเดียจึงถูกรังเกียจจากคนรอบข้าง เขาจบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา

ดร. อัมเบดการ์ ได้จัดตั้งองค์กรเพื่อยกฐานะและต่อสู้เพื่อความเสมอภาคของคนวรรณะศูทรและจัณฑาล เมื่อ พ.ศ. 2467 โดยใช้วิธีต่อสู้แบบ อหิงสา คือสงบและสันติ ตลอดจนต่อสู้ให้กับสตรีที่ถูกกดขี่และไม่ได้รับในความเสมอภาคเท่าเทียมกับชาย

ดร. อัมเบดการ์ ได้เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 2478 โดยให้เหตุผลว่าพระพุทธศาสนาไม่ขัดแย้งกับวิถีการดำเนินการชีวิตของชาวอินเดีย เป็นศาสนาแห่งความสะอาด ไม่แบ่งแยกในชั้นวรรณะของคน

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1. เป็นคนรักความก้าวหน้า รักการศึกษาเล่าเรียน จบปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาต่าง ๆ เช่น กฎหมาย วรรณคดี และเศรษฐศาสตร์ ทั้งมหาวิทยาลัยในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

2. มีความอดทนและอดกลั้นเป็นเลิศ เพราะถูกกดขี่ข่มเหงจากคนวรรณะที่สูงกว่า

3. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ได้ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาโดยนำมาเผยแพร่ในหมู่คนวรรณะต่ำ และได้ก่อตั้งชุมชนชาวพุทธขึ้นในสังคมอินเดีย

4. มีจิตใจเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ เสียสละ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม คือ กล้าต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง หรือ ความยุติธรรมที่ได้รับ โดยวิธีสงบและสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง